ความสำเร็จ EEC 4 ปี โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

ความสำเร็จ EEC 4 ปี โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีความก้าวหน้าไปมากพอสมควรและเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ โดยความสำเร็จ 4 ปี ของ EEC เกิดการเติบโตที่ดีครบทุกมิติ เกิดผลประโยชน์โดยตรงถึงประชาชนทุกกลุ่ม และเกิดการบูรณาการด้านงบประมาณกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ

โดยปัจจุบันได้มีการผลักดันโครงการร่วมลงทุนรัฐและเอกชนจนเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยได้เซ็นสัญญาครบ 4 โครงการแล้ว

1) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

2) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

3) โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด

4) โครงการท่าเรือแหลมฉบัง

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทำให้เกิดเม็ดเงินลงทุนกว่า 650,000 ล้านบาท โดยรัฐได้ผลตอบแทนสูงถึง 210,000 ล้านบาท ซึ่งทุกโครงการคาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2568 เป็นต้นไป ถือเป็นการสร้างต้นแบบให้ประเทศไทยก้าวสู่การพึ่งพาตนเองและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ สร้างงานให้คนไทยและสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กับภาครัฐ

ขณะที่ด้านการลงทุนในพื้นที่ EEC เกิดการลงทุนรวมที่ได้อนุมัติงบลงทุนสูงถึง 1.8 ล้านล้านบาท เกินเป้าหมาย 1.7 ล้านล้านบาทใน 5 ปีที่เป็นแผนแรกของอีอีซี โดยก้าวต่อไป EEC ได้วางแผนการลงทุนระยะที่ 2 ในอีก 5 ปีข้างหน้า (2566- 2570) เพื่อขับเคลื่อนต่อยอดและเร่งรัดการลงทุนโดยการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัย อีกทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยวางเป้าการลงทุนไว้ที่ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเกิดมูลค่าการลงทุนใน EEC เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 400,000 - 500,000 ล้านบาท โดย EEC น่าจะขยายตัวได้ 7-9% ต่อปี ซึ่งจะเป็นการเสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเต็มศักยภาพ ทำให้ประเทศไทยขยายตัวได้ประมาณ 5% ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ EEC ยังได้เร่งขยายและพัฒนาโครงข่าย 5G ให้การใช้ 5G เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ระดับชุมชน โดยเริ่มพัฒนาต้นแบบที่บ้านฉางและเมืองพัทยา ก้าวสู่ชุมชนอัจฉริยะและต่อยอดสู่ภาคการผลิต ภาคธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ พร้อมทั้งสร้างแนวทางส่งเสริมการลงทุนใหม่ ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล ยานยนต์ไฟฟ้า EV การแพทย์สมัยใหม่ และการขนส่งโลจิสติกส์ ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียวหรือ BCG ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก้าวสู่พื้นที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในอนาคตที่ EEC มุ่งมั่นให้เกิดการลงทุนที่ยั่งยืน

นอกจาก 4 ปีของความสำเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยแล้ว EEC ยังได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่และสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยผลักดันแผนพัฒนาภาคเกษตร เป็นต้นแบบใช้การตลาดนำการผลิต ใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตให้เข้าถึงตลาดสินค้ามูลค่าสูง กำหนด 5 คลัสเตอร์ ที่มีศักยภาพ ได้แก่ ผลไม้ ประมง พืชชีวภาพ สมุนไพร และเกษตรมูลค่าสูง เพื่อสร้างรายได้เกษตรให้เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ รวมทั้งได้จับมือกับธนาคารออมสินเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ ช่วยให้พ่อค้า แม่ขาย สามารถประกอบกิจการได้โดยเร็ว และร่วมกับสถาบันการเงินชั้นนำให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SME คู่กับการสนับสนุนสินค้าชุมชน ยกระดับสินค้า โอทอป สร้างรายได้ให้ชุมชน

อีกทั้ง EEC ยังสร้างระบบการพัฒนาบุคลากรตำแหน่งงานใหม่รายได้ดี เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่ทำงานกับนวัตกรรมใหม่ ตั้งเป้าหมายกว่า 475,000 ตำแหน่ง ผ่านการศึกษาในรูปแบบสร้างงานให้ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม โดย อบรมไปได้แล้ว 16,114 คน สิ้นปี 66 จะดำเนินการได้ 100,000 คน และเร่งดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมาย พร้อมยกระดับด้านสาธารณสุขให้ชุมชนเข้าถึงระบบประกันสุขภาพ อย่างทั่วถึง รวมไปถึงยกระดับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้กลับมาท่องเที่ยวในพื้นที่ และยังได้ริเริ่มแนวคิดการปล่อยสัตว์ทะเล เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชุมชน พร้อมรักษาระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการขยะแบบครบวงจรเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืนในพื้นที่ EEC

#ขยายผลประเด็นสื่อสาร


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความที่น่าสนใจ
Tag