1 ท่าเรือระดับโลก ประตูสำคัญดันการท่องเที่ยวและการส่งออก

1 ท่าเรือระดับโลก ประตูสำคัญดันการท่องเที่ยวและการส่งออก

.ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหนึ่งในรายได้สำคัญของประเทศไทยคือ การส่งออก และ การนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อนำมาผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคภายในและส่งออก ปัจจุบันการส่งออกของไทยคิดเป็นร้อยละ 75 ซึ่งเกินครึ่งหนึ่งของรายได้ประเทศ ซึ่งการขนส่งทางเรือนับว่าเป็นช่องทางการขนส่งสินค้าที่มีความสำคัญและได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำและส่งสินค้าได้ครั้งละมาก ๆ เหมาะกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ อาทิ

“การขนส่งเบียร์ 1 กล่องน้ำหนัก 15 กก.ต่อกล่อง จากกรุงเทพฯ ไปส่งที่จังหวัดชลบุรี โดยทางรถบรรทุกค่าขนส่งราคากล่องละ 10.60 บาท ในขณะที่การขนส่งทางเรือ 1 ลำ บรรทุกเบียร์ได้ 100,000 กล่อง ค่าขนส่งกล่องละ 2.25บาท และไปจ้างรถกระจายต่ออีก 4.5 บาท ต่อกล่อง รวมเป็น 6.75 บาท ต่อกล่อง ต้นทุนการขนส่งลดลงถึง 36%” จากตัวอย่างที่ยกมานั้นเห็นได้ว่าต้นทุนค่าขนส่งนั้นลดลงกว่า 30% ทำให้ผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจในการขนส่งทางน้ำมากขึ้น

ท่าเรือที่สำคัญในประเทศไทยที่บริหารจัดการโดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย มีจำนวน 5 แห่ง

• ท่าเรือกรุงเทพ หรือ ท่าเรือคลองเตย เป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าต่างๆ และเข้าถึงผู้บริโภคมากกว่า 10 ล้านคน พร้อมกับทั้งรองรับสินค้ามูลค่าสูงและผลิตภัณฑ์ เพื่อการบริโภค รองรับการเชื่อมต่อ การขนส่งสินค้า จากทางแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และปลายทางทั่วประเทศผ่านการขนส่งหลายรูปแบบทั้งทางถนน ทางรางรถไฟ และทางน้ำ ถูกเชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์ไทยและการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยบริการขนส่งตรง (Direct Call) พร้อมบริการตู้สินค้าครบวงจร รองรับเรือสินค้า และ เรือขนส่งชายฝั่งด้วยมาตรฐานบริการระดับสากล

• ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือน้ำลึกหลักของประเทศไทย และ ท่าเรือประตูการค้าระดับโลก โดยท่าเรือแหลมฉบังนี้ เป็นท่าเรือประเภท Gateway Port อันดับที่ 3 ของโลก ยังไม่ได้นับรวมท่าเรือทั้งหมดในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยได้เป็นรองจากท่าเรือ Los Angeles และ ท่าเรือ Long Beach อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อซัพพลายเชน สินค้าไปยังโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในฝั่งทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ท่าเรือแหลมฉบังนี้ ได้ถูกปฏิบัติการท่าเทียบเรือ โดยผู้ประกอบการท่าเทียบเรือระดับโลก (Global Terminal Operators : GTOs) สามารถที่จะรองรับเรือขนส่งสินค้าต่างๆได้หลากหลายประเภท ซึ่งรวมไปถึงเรือขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่พิเศษ (Super Post Panamax) พร้อมขีดความสามารถในการกระจายสินค้าเข้าสู่เมืองกรุงเทพมหานคร และปลายทางทั่วทั้งประเทศ และผ่านการขนส่งอีกหลายรูปแบบ เช่น ทางถนน ทางราง และ ทางน้ำ รวมทั้งให้บริการเช่าพื้นที่ประกอบกิจการ โลจิสติกส์และธุรกิจอื่นๆอีกด้วย

• ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน เป็นประตูการค้าระหว่างประเทศไทยกับทางประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ได้แก่ ประเทศจีนตอนใต้ สหภาพเมียนมาร์ และ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนนี้มีความพร้อมในการสนับสนุนการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน และด้วยศักยภาพในการรองรับเรือสินค้าทั่วไป และ เรือน้ำมันเชื้อเพลง และยังมีความสะดวกในการส่งออกสินค้าประเภทรถยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยท่าเรือพาณิชย์นี้มีสินค้าส่งออกหลักเป็นเนื้อสัตว์แช่แข็ง ซึ่งมีประมาณสินค้าผ่านท่าเฉลี่ยว 40,000 – 50,000 ตันต่อปี พร้อมกับน้ำตาลทรายที่มีประมาณการส่งออก 30,000 – 40,000 ตันต่อปี

• ท่าเรือเชียงของ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขตพื้นที่ของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยท่าเทียบเรือขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 180 เมตร ด้านหน้าติดแม่น้ำโขง ฝั่งตรงข้ามคือเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านหลังติดถนนซึ่งเชื่อมระหว่างอำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บริการที่ท่าเรือเชียงของในลักษณะให้บริการในพื้นที่เดียวกัน (One Stop Service) คือ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมขนส่งทางน้ำพาณิชยนาวี ด่านตรวจ คนเข้าเมือง ด่านสาธารณสุข ด่านกักสัตว์และพืช เป็นต้น เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากมีอุปกรณ์ทำความสว่างอย่างเพียงพอ และมีเจ้าหน้าที่ ให้บริการ 24 ชั่วโมง

• ท่าเรือระนอง เป็นประตูการค้าที่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าฝั่งทะเลอันดามัน เชื่อมโยงกับเส้นทางการค้าในกลุ่มประเทศ BIMSTEC เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา โดยท่าเรือระนองมีระบบการให้บริการที่เป็นมาตรฐานสากล รองรับการขนส่งสินค้าทุกประเภท ด้วยท่าเทียบเรือตู้สินค้าและท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ รวมทั้งเป็นฐานสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในโครงการสำรวจและขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในบริเวณอ่าวเมาะตะมะ ท่าเรือระนองมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้า ด้วยบริการตู้สินค้าที่ครบวงจร ตั้งแต่โรงพักสินค้า บริการชำระพิธีการศุลกากร บริการตรวจคนเข้าเมือง ไปจนถึงบริการให้เช่าพื้นที่ประกอบการ

อย่างไรก็ตามการท่าเรือแห่งประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติการ และพัฒนาศักยภาพขององค์กรสู่การเป็นท่าเรือชั้นนำ ภายใต้มาตรฐานสากล พร้อมทั้งยกระดับอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าของประเทศไทยในตลาดโลก ผ่านโครงการพัฒนาท่าเรือที่สำคัญ อาทิ

• โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3: เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือ ในการรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจะดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกสำหรับจอดเรือและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรภายในท่าเรือ ตลอดจนขยายโครงข่ายและระบบการขนส่งต่อเนื่อง ให้สามารถรองรับปริมาณสินค้าผ่านท่าเพิ่มขึ้นเป็น 18 ล้านทีอียูต่อปี

• โครงการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือทุ่นแรงและกระบวนการการทำงานภายในของท่าเรือกรุงเทพ เพื่อส่งเสริมระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) และพัฒนาระบบขนส่งและการขนถ่ายสินค้าให้มีโครงข่ายเชื่อมโยง (Logistics Chain) ภายในประเทศ

#ขยายผลประเด็นสื่อสาร

 

ดูข้อมูลเชิงลึก

โปรโมทโพสต์

ความรู้สึกทั้งหมด

11


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar