ครม. ไฟเขียวโคแสนล้าน ให้ ธ.ก.ส. ปล่อยกู้

ครม. ไฟเขียวโคแสนล้าน ให้ ธ.ก.ส. ปล่อยกู้

คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการ “โคแสนล้าน” นำร่อง กรอบวงเงินสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 5,000 ล้านบาท โดยรัฐจะชดเชยต้นทุนทางการเงินให้กับ ธ.ก.ส. ในระยะเวลา 2 ปี ด้วยอัตราร้อยละ 4.5 ต่อปี และให้ ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดเชยอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น จำนวน 450 ล้านบาท (ปีละ 225 ล้านบาท) ตามที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) เสนอ

ทดลองนำร่องก่อนขยายผลไปยังจังหวัดอื่น ๆ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าที่ประชุม ครม. ได้มีมติเห็นชอบเรื่องโครงการโคแสนล้านนำร่อง โดยให้นำไปทดลองในบางจังหวัดก่อนและรายงานผลกลับมาให้ ครม. ทราบก่อนขยายผลไปยังจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขในการทำโครงการฯ ที่โดยให้ ธกส. เป็นผู้ให้กู้กับสมาชิกกองทุนโดยตรงและ ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ซื้อแม่โคจากตลาดหรือฟาร์ม ในพื้นที่ไม่ใช่รัฐซื้อแจกทั้งนี้ได้มอบหมายให้ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการฯ ได้รับทราบและจะรวบรวมข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป

สรุปสาระสำคัญโครงการ “โคแสนล้าน”

ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการ “โคแสนล้าน” นำร่อง เมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา และมอบหมายให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ไปแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงาน งบประมาณ และกรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ภาครัฐต้องรับภาระชดเชย ตลอดจนความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น สรุปรายละเอียดในการดำเนินโครงการ “โคแสนล้าน” นำร่อง ได้ดังนี้

1. ดำเนินการภายใต้กรอบวงเงินสินเชื่อของ ธ.ก.ส. กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยให้สินเชื่อแก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กองทุนหมู่บ้านฯ) สำหรับให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (สมาชิกกองทุนฯ) กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงโค จำนวน 100,000 ครัวเรือน (ครัวเรือนละ 50,000 บาท) และรัฐชดเชยดอกเบี้ยให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในอัตราดอกเบี้ย 4.50 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี (ปีละ 225 ล้านบาท) โดยให้ ธ.ก.ส. ตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดเชยดอกเบี้ยต่อไป

2. ประเภทสินเชื่อและระยะเวลา เป็นสินเชื่อระยะยาว ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี โดยให้กองทุนหมู่บ้านฯ เป็นตัวแทนยื่นเสนอขอรับสนับสนุนสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ในฐานะนิติบุคคลตามแนวทาง ที่กำหนด โดยให้สมาชิกกองทุนฯ ยื่นความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการกับกองทุนหมู่บ้านฯ จากนั้นกองทุนหมู่บ้านฯ พิจารณาคุณสมบัติของสมาชิกกองทุนฯ ตามระเบียบ ข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้านฯ และยื่นขอสินเชื่อโครงการฯ กับ ธ.ก.ส.ในนามกองทุนหมู่บ้านฯ

ปีที่ ต้นเงิน

(50,000 บาทต่อครัวเรือน)

(บาท) ดอกเบี้ย (ร้อยละ/ปี)

1 ยังไม่ต้องชำระคืนต้นเงินรัฐชดเชย 4.50

2 รัฐชดเชย 4.50

3 กองทุนหมู่บ้านฯ ชำระดอกเบี้ย

ให้ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 4.50 ต่อปี

4 25,000

5 25,000

3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ยกระดับการผลิตของเกษตรกร

รายย่อยและเอกชน ให้สามารถเลี้ยงโคเนื้อเชิงอุตสาหกรรมตอบสนองต่อการบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สร้างรายได้เพิ่ม ลดความยากจนของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ

ได้อย่างน้อย 120,000 บาท ในระยะเวลา 5 ปี ต่อแม่โค 1 ตัว

ลำดับที่ รายละเอียดรายได้จากการขายโค (บาท)

1 แม่โคปลด 18,000

2 โค 1 ปี 20,000

3 โค 2.5 ปี 25,000

4 โค เพิ่งคลอด 7,000

5 โค 4 ปี 20,000

6 โค เพิ่งคลอด 7,000

7 โค 2 ปี ตั้งท้อง 3 เดือน 23,000

รวม 120,000

4. การติดตามประเมินผล กทบ. สทบ. ธ.ก.ส. กระทรวงพาณิชย์ กรมปศุสัตว์ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องจะติดตามประเมินผลเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส โดยให้ ธ.ก.ส. รายงานข้อมูลกองทุนหมู่บ้านฯ ที่ยื่นขอรับการสนับสนุนงบประมาณและผลการอนุมัติงบประมาณของ ธ.ก.ส.


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar